เมียนมาร์กับการพลิกฟื้นการศึกษา หลังรัฐประหาร

Posted by

“เมียนมาร์เคยมีการศึกษาดีที่สุดในเอเชีย”

70 ปีก่อน ในช่วงปลายทศวรรษที่ 40 พม่า เป็นประเทศที่มีอัตราการอ่านออกเขียนได้สูงที่สุดในเอเชีย (ย้ำว่า “เอเชีย” ไม่ใช่ “อาเซียน”) จนกระทั่งรัฐประหารเมื่อ 55 ก่อน โฉมหน้าของเมียนมาร์ก็เปลี่ยนไป

ปัจจุบัน เรานึกภาพเมียนมาร์ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา ประชาชนส่วนใหญ่ฐานะไม่สู้ดี และการศึกษายังด้อยกว่าประเทศอื่นในอาเซียน พอมาดูสถิติต่างๆ ประกอบแล้วก็พบว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงๆ

  • 19.4% ของประชากรทั้งหมดมีฐานะยากจน
  • 37% เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะยากจน
  • วัยรุ่น 18.6% ไม่ได้รับการศึกษา
  • เยาวชนจำนวน 26.35% ไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัย
  • และไม่มีมหาวิทยาลัยในเมียนมาร์ใดที่ติดอันดับโลกเลย

เกิดอะไรขึ้น?

การศึกษาสมัยใหม่เริ่มในตอนปลายศตวรรษที่ 19 สมัยพระเจ้ามินดง ทิ่มิชชันนารีจากอเมริกาเข้ามาวางรากฐานระบบโรงเรียนเอาไว้ให้ โดยก่อนหน้านี้ การศึกษาเล่าเรียนต่างๆ จะเกิดขึ้นที่วัด แต่พอเปลี่ยนจากวัดมาเป็นโรงเรียน ก็ทำให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างเพศสังคม เพราะผู้หญิงสามารถเข้ามาเรียนในโรงเรียนได้ เกิดการจ้างงานของทั้งสองเพศอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยของพม่าระหว่างปี1900 – 1950 ถือได้ว่าดีที่สุดในอาเซียน ในตอนนั้นใครๆ ก็คาดหวังว่าเมียนมาร์จะเป็นเสือเศรษฐกิจตัวแรกของภูมิภาค

แต่หลังจากปี 1962 ที่นายพลเนวิน เข้ามายึดอำนาจ เมียนมาร์กลายเป็นหนังคนละม้วน การปิดประเทศไม่เปิดรับความรู้จากโลกภายนอกทำให้ชาติหยุดพัฒนา ความรู้ทางวิชาการไม่ต่อเนื่อง จึงไม่สามารถสร้างครูเก่งๆ ขึ้นมาสอนนักเรียนได้ แถมระหว่างปี 1996 – 1998 รัฐบาลได้สั่งปิดมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปใหญ่

ถึงแม้จะกลับมาเปิดประเทศในปี 2011 แต่การศึกษาในเมียนมาร์ก็ยังอยู่ในขั้นวิกฤติเพราะหยุดเติบโตไปนาน ระบบการศึกษาของเมียนมาร์ปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 120 จาก 179 ประเทศทั่วโลก จากการสำรวจการจัดสรรงบประมาณในปี 2015 พบว่า การศึกษาได้รับงบไปเพียง 1.2% จากทั้งหมดเท่านั้น

รัฐบาลพม่าไม่ได้นิ่งนอนใจ นาง Aung San Suu Kyi หัวหน้าพรรค NLD และนาย Myo Thein Gyi รมต.กระทรวงศึกษาธิการได้วางแผนปฏิรูปการศึกษาเอาไว้ เพื่อนำประเทศกลับไปสู่จุดที่เคยเป็นอีกครั้ง

ในปี 2016 กระทรวงศึกษาธิการเมียนมาร์ได้ออก action plan 6 ปี ที่มีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาทักษะการเรียนการสอนในสามด้านคือ

1. การศึกษาสายสามัญ
2. อาชีวศึกษา
3. การวิจัย

โดยที่ความเปลี่ยนแปลงต้องเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ที่มาพร้อมนโยบาย 9 ข้อ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศที่ต้องการให้การศึกษาช่วยยกระดับชีวิตคนให้พ้นจากความยากจน และหลุดออกจากการเป็นประเทศรายได้ปานกลาง

ภายในปี 2030 เมียนมาร์มีเป้าหมายว่า

  • โรงเรียนอนุบาลและเตรียมอนุบาลต้องมีพร้อมให้เด็กทุกคน
  • เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (จนถึงม.3)
  • เกิดหลักสูตรที่สอดค้ลองกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในศตวรรษที่ 21
  • คุณครูสามารถประเมินความสามารถของเด็กได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
  • ครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบ interactive เพื่อสนับสนุนศักยภาพเด็กอย่างเต็มที่
  • มีหลักสูตรการศึกษาแบบทางเลือก (เช่นโฮมสคูล หรือโรงเรียนทางเลือกที่ไม่ได้สอนตามหลักสูตรของกระทรวง) ที่นักเรียนสามารถเรียนและสำเร็จการศึกษาพร้อมวุฒิได้
  • มีหลักสูตรอาชีวศึกษาที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และตอบโจทย์ตลาดแรงงาน
  • มีมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สร้างสังคมอุดมความรู้
  • ผู้จัดการศึกษาในทุกระดับตัดสินใจด้วยข้อมูลรอบด้าน และใช้ข้อมูลเหล่านั้นพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แล้วประเทศไทยล่ะ ตั้งเป้าการศึกษาปี 2030 ไว้ที่ไหน 😅


ลงครั้งแรกที่ Newground อ่านต้นฉบับได้ที่นี่

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s