อันตรายของ Ignorance หรือความไม่รู้ ในยุคไทยแลนด์ 4.0

Posted by

“คุณมาจากแอฟริกาใต้จริงเหรอ ทำไมคุณถึงผิวขาวล่ะ?”

เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยถาม Monice ชายชาวแอฟริกาใต้ เชื้อสายดัชต์

“ขอเชิญคุณเข้าไปในห้อง เพื่อซักถามเพิ่มเติม”  

Monice ต้องเสียเวลาเป็นชั่วโมงๆ ในห้องเย็นของตม. เพื่ออธิบายว่าเขาเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย เพราะได้รับการจ้างให้มาสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนรัฐที่ภาคใต้ของเมืองไทย ถึงเขาจะมีวีซ่าทำงานมาโชว์ตั้งแต่แรกก็ตาม แต่ถูกกักตัวไว้เพราะความสงสัยว่าทำไมคนแอฟริกันคนนี้ ถึงไม่ใช่คนผิวดำตามภาพจำของพวกเขา

นี่คือคำบอกเล่าของรูมเมทของผู้เขียนที่โฮสเทลแห่งหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์ เขามาต่อวีซ่าที่สถานทูตไทยในมาเลเซีย

แอฟริกาใต้เป็นเบ้าหลอมของคนหลายเชื้อชาติ ทั้งคนพื้นเมืองและคนขาวจากเนเธอร์แลนด์ อังกฤษ และเยอรมนีที่เข้ามาตอนยุคล่าอาณานิคม และปัจจุบันก็มีคนจีนเข้ามาอาศัยที่นั่นจำนวนมากอีกด้วย พวกเขาเข้ามาทำธุรกิจและหลายๆคนก็ตั้งรกรากที่่แผ่นดินใหม่ไปเลย การไม่รู้ประวัติศาสตร์ดังกล่าวอาจไม่แปลกนักสำหรับคนไทยทั่วไป แต่มันแปลกมากๆ ถ้าคนไทยคนนั้นทำงานทีี่ด่านตรวจคนเข้าเมือง


เหตุการณ์นี้ทำให้เรานึกถึงตอนไปถ่ายทำสารคดี “ครูต้นแบบ” ให้กับกระทรวงศึกษาธิการเมื่อ 2 ปึก่อน หนึ่งในครูดีเด่นของโครงการคือครูหมวดวิชาภาษาอังกฤษ ที่ใช้กิจกรรมอาเซียนศึกษาเพื่อสร้างแรงบันดาลให้นักเรียนอยากเรียนภาษาต่างประเทศ

แต่นอกจากจะไม่สอนเรื่องวัฒนธรรมร่วมในแถบอุษาคเนย์ให้เห็นว่าแต่ละประเทศมีวัฒนธรรมร่วมกันอย่างไร แต่ให้นักเรียนท่องจำคำทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ เป็นภาษาของประเทศต่างๆ ในอาเซียนแทนแล่้ว อนิจจา ในคลาสนั้นอาจารย์กับสอนนักเรียนว่าคนสิงคโปร์พูดภาษาจีนกลางเป็นภาษาราชการ ซึ่งทำเอาเรางงมากๆ เพราะตั้งแต่ได่รับเอกราชอังกฤษมาในปี 1965 สิงค์โปร์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักมาโดยตลอด

คำถามคืออะไรที่ทำให้คนไทย “เพิกเฉย” ้หรือที่ภาษาอังกฤษเรียนว่า Ignorant ต่อการเรียนรู้เรื่องประเทศอื่นๆ ได้ขนาดนี้ โดยเฉพาะคนในตำแหน่งที่จำเป็นต้องรู้มากกว่าคนทั่วไป

จากกการสำรวจประเทศที่มีประชากร ignorant มากที่สุดในโลก ประเทศไทยได้อันดับ 7 (ใขณะที่การวัดเรื่องความโปร่งใส ไร้คอรัปชั่นไทยได้อันดับที่ 101) 
ที่น่าสนใจจากการสำรวจนี้่คือประเทศที่คน ignorant น้อยที่สุดคือเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการศึกษาดีระดับต้น และมีวัฒนธรรมส่งเสริมให้คนกล้าพูดตรงๆ ส่วนในอาเซียนประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซียติดหนึ่งใน 5 อันดับประเทศที่มี ignorance น้อยที่สุด ซึ่งนั่นเป็นเพราะสังคมที่นั่นมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเปิดพื้นที่ให้คนแต่ละชาติพันธ์ (เช่น มลายู จีน อินเดีย ฯลฯ) ได้มีภาษาและวัฒนธรรมของตัวเอง โดยมีภาษาสากลอย่างอังกฤษเป็นสื่อกลางของคนในชาติ

เมื่อมองย้อนกลับมาดูเมืองไทย ปัญหาของความ ignorance อาจเกิดจาก การเชิดชูคุณค่าใดคุณค่าหนึ่งมากจนเกินไป จนลืมมองความหลากหลายเช่น ภาษาไทย ประเพณีไทย พุทธศาสนา รวมถึงจารีตไทย ทั้งหมดนั้นมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมอำนาจนิยม ผู้ใหญ่ต้องได้รับความยำเกรงโดยอัตโนมัติอย่างไม่มีเงื่อนไข ใครกล้าตั้งคำถามหรือพูดสิ่งที่ตัวเองคิดก็จะถูกประณามให้เป็นแกะดำ

การที่เราเชิดชูวัฒนธรรมไทย ด้วยการทำไปไม่รู้ไม่ชี้ว่าที่เราเรียกว่า “ไทย” นั้นแท้จริง เราเอาของคนอื่นมาเลือกรับปรับใช้แบบแทบไม่ให้เครดิตทั้งนั้น และการศึกษาวัฒนธรรมชาติตัวเองแบบไม่เชื่อมโยงกับโลกภายนอก ทำให้เรามืดบอดว่าสังคมโลกเขาเป็นอย่างไร ไม่แปลกใช่ไหมที่จะเห็นเด็กไทยแต่งชุดกีฬาสีธีมนาซี หรือการมองฮิตเลอร์แบบด้านเดียวแบนๆ ว่า “อย่างน้อยฮิตเลอร์ก็ทำลงไปด้วยความรักชาติ” เป็นต้น

นั่นอาจเป็นสิ่งดีที่ช่วยรักษาให้คุณค่าเดิมๆ ยังคงอยู่ แต่มีใครกล้าถามลึกไปกว่านั้นไหมว่า ที่คงอยู่ ณ ปัจจุบันมันสอดคล้องกับการเติบโตในอนาคตหรือไม่?

คำ ผกาได้กล่าวถึงผลร้ายของ Ignorance ไว้ว่า

“การปล่อยให้ความ ignorance แบบนี้ดำเนินไปโดยปราศจากการท้าทาย ในท้ายที่สุด มันจะทำให้สังคมนั้นๆ เป็นสังคมอนุรักษนิยม ยากจะเปิดรับความคิดใหม่ โลกทรรศน์ใหม่ นั่นแปลว่า มันจะเป็นสังคมที่ยากจะผลักดันให้เกิดความเจริญก้าวหน้า เป็นสังคมที่ไม่มีไอเดียใหม่ ไร้ความคิดสร้างสรรค์ ไร้จินตนาการ ไม่เชื่อเรื่อง “ความเป็นไปได้” แต่ศรัทธาต่อ “ความเป็นไปไม่ได้”

ในสังคมไทยแลนด์ 4.0 ที่เรากำลังก้าวเข้าไปเป็น รวมถึงการเปิดตัวของ AEC อย่างเป็นทางการ เราจะปล่อยให้ ignorance ขวางกั้นความเจริญของประเทศตัวเองหรือไม่ หรือว่าเราจะยอมรับในความไม่รู้และพยายามเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติม

ลองออกไปจากคอมฟอร์ต โซน ฝึกภาษาอังกฤษ อ่านข่าวหรือดูข่าวภาษาต่างประเทศมากขึ้น ดูรายการต่างๆ จากทั่วโลก (ที่หาดูได้ฟรีใน Youtube) นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะหยุดยั้งความเพิกเฉยต่อสังคมโลกไปได้

ยิ่งเราเห็นโลกกว้่างมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเห็นไอเดียที่จะทำให้ประเทศรวมถึงโลกใบนี้ดีขึ้นมากขึ้นด้วย 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s