THANYANAN

“คนเก่งย่อมคู่ควรกับประเทศที่ดีกว่า” คือสิ่งที่ฉันเรียนรู้ตอน 7 ขวบ

“ชาติเป็นสิ่งสมมุติ” เราคิดแบบนั้นตั้งแต่ 7 ขวบ ทั้งๆ ที่ตอนเด็กๆ เราเข้าเรียนในโรงเรียนที่เคร่งพุทธศาสนา และปลูกฝังแนวคิดชาตินิยมอย่างเต็มที่ ความรักชาติในใจของเราถูกตั้งคำถามอย่างหนัก เมื่อดู “ฟุตบอลโลก 1994”

ความพ่ายแพ้ของ Win-Win

เรื่องความอยาก Win-Win ตลอดเวลานี่ล่ะ มันเลวร้ายยิ่งกว่าปีศาจใดๆ ฟังดูเผินๆ เหมือนจะดีที่อยากให้ทุกอย่างออกมาดีใช่มั้ย? แต่เพราะ Win-Win ไง เราเลยต้องการให้ทุกอย่างมันเพอร์เฟกต์ตลอดเวลา เราเลยกลับไปกลับมาระหว่างไม่กล้าตัดสินใจไม่กล้าลงมือทำอะไรเลย กับลงมือทำไปแล้วก็ไปคาดหวังว่ามันต้องออกมาสมบูรณ์แบบและทุกๆคนต้องพอใจ

เคยถูก “จำได้” บ้างไหม

วันหนึ่งเมื่อปีก่อน มีความช็อค 7.1 ตามมาตรวัดริกเตอร์ เมื่อนั่งกินส้มตำอยู่ปากซอยและมีเด็กผู้ชายวัยไม่เกิน 10 ขวบเดินเข้ามาหา พร้อมยื่นมือถือ เปิดหน้าจอ Youtube ที่กด pause ไว้ที่ฉากหนึ่งของ music video ของแสตมป์ ที่มีเราอยู่ในนั้น

ทำดีก็ต้องเด่น เพื่อเป็น “แรงบันดาลใจ”

สิ่งหนึ่งที่เราอึดอัดมากๆ เรื่องสังคมไทยคือค่านิยมหมั่นไส้ความสำเร็จของคนอื่น คนจำนวนไม่น้อยในบ้านเรา (รวมถึงเราด้วย) ถูกสอนด้วยสุภาษิตตั้งแต่เด็กว่า “ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเด่นกว่าตัว”

ฉันจบอักษรจุฬา แต่…

ความสัมพันธ์เรากับคณะอักษร จุฬา ไม่ค่อยสู้ดีนัก ตั้งแต่วันแรกที่สอบติด เพราะใจจริงเราไม่ได้อยากเข้าที่นั่น เราอยากเข้าสถาปัตย์ ที่ม.ลาดกระบัง เพื่อไปเรียนภาพยนตร์กับเพื่อนหญิงม.ปลาย ที่เป็นรักแรกของเรามากกว่า แต่เราไม่มีปัญญาวาดรูป และดันเก่งเรื่องวิชาการ ประกอบกับโดนกระแสกดดันจากที่บ้าน เลยต้องมาเข้าคณะที่แทบจะเป็นรร.คอนแวนต์ อย่างเสียไม่ได้