(สำหรับภาษาไทย กรุณาเลื่อนลงด้านล่าง)
After the outbreak of novel coronavirus, which is now globally known as “COVID-19”, the global economy has recessed. Thailand is inevitably plagued by the incident. Carrying out “Social Distancing” to reduce the number of infectees hinders the operation of many businesses. One of the businesses that is heavily affected is food and beverage. Since many businesses have to run work from home program and workers, who mostly live on daily wages, are forced to leave without pay. The purchase power from the consumer drops drastically. The restaurant operation throughout the country are ordered to stop their operation from March 21 to keep people from crowding in the premise. This is the time where the food and beverage business operators are walking on a path of uncertainties.

Assistant professor Dr. Surapong Pinitglang, the dean of School of Science and Technology, University of the Thai Chamber of Commerce stated his opinions in a webinar, Asia Food Beverage Virtual Talk, that in the time of epidemic, people tend to opt for healthy food. Dr. Surapong suggested the business operators to run research and development on probiotics, live microorganisms that provide health benefits. Probiotics contain antioxidant, which help reduce the damage of the cells of organisms. They also boost the immune system. The other pharmaceutical uses are as anti-viral, anti-cancer agent, anti-inflammatory, heart disease treatment and anti-bacteria. These benefits are essential for health. They are highly in demand during the time of virus outbreak.
He showed the sales of healthy food products in the past three months. The statistics revealed that the sales of probiotics soared up by 700%. It proved a strong demand from the consumer, which the business operators have not sufficiently supplied yet. Not only nutritional benefits, food and beverages containing probiotics also taste fresh, have low sugar and are able to be kept for a long period of time.

Dr. Surapong saw that the most recommended probiotics today are Bacillus Coagulans GBI-30, 6086 or Ganeden BC30. They can be made into ingredients for a wide range of food products without losing the microorganism by heat in the manufacturing process. If the Ganeden BC30 are used in making cookies, after being baked by 180 Degree Celsius of heat, the remaining microorganism are still as high as 98%. Also, after being made into extruded food products such as pasta, the remaining microorganism are 94%. The making of probiotics can be done in an SME scale. The SMEs should focus on the research and development to create a unique formula of the extracted probiotics. The easiest product that can be made is drink powder packed in a sachet, as it does not require much cost. He cited that the SME operators should make a partnership with large companies, who are more ready for advanced technology. Turning the formula of probiotics into food ingredient requires sophisticated technology, which is called High Pressure Processing. For Thai small and medium food business operators, the best option is to partner with Tsus Febix Foodtech, a Chiangmai-based company who specializes in such technology, according to Dr.Surapong’s opinion.
Moreover, Dr.Surapong saw that there are three local plants; ginger, mangosteen and chameleon plant, which have high potentials for Thai business operators in making probiotic extract. Ginger is a plant that is commonly grown in Petchaboon Province, and in the North and the South of Thailand. Ginger contains gingerol and shogaol, which have high health benefits. People have to consume a very large amount of fresh ginger a day to receive sufficient amount of such nutrients. However, when extracted with High Pressure Processing, the concentration from ginger will hold much more nutrients by 30 times. The business operators can sustain their business by selling the formula to larger companies as partnership.

The most important part of mangosteen is the peel. Dr. Surapong thought that it would help add the value tremendously for the agricultural crop of mangosteen farmers as the price of the peel of mangosteen today is very low. Also, the chameleon plant, this plant contains high amount of quercetin, which is an anti-viral substance.
Nonetheless, Dr.Surapong raised his concern that these plants might not be utilized to their full potentials as Thailand has not have the system to produce food from probiotics. The Thai FDA still has not have the specifications for the probiotic formulas. And most importantly, there is still no Thai manufacturer of probiotic food products in the world market yet. It is unlike Japan, where Yakult has been in business for almost a century. Other leading Asian countries like China and South Korea also have a long history in probiotic food manufacturing.
Nevertheless, Dr.Surapong hopefully envisioned that Thailand is still able to catch up with those countries within 10 years. It requires a system that brings business operators, chemists and microbiologist to collaborate together. He gave an example about the organization that he is in charge of, which is Food Innopolis. The food and beverage research and development organization belongs to School of Science and Technology, University of the Thai Chamber of Commerce. The Food Innopolis aims to use scientific knowledge to maximize the potential of the business operators and the organization is willing to help the Thai food and beverage business operators in research and development as well as partnering them with larger technologically ready food manufacturers.
โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์สายพันธุ์ดีต่อผู้ประกอบการด้านอาหาร
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่รู้จักกันในชื่อ “โควิด 19” เศรษฐกิจของทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างมหาศาล ประเทศไทยก็เช่นกัน การทำ social distancing เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อส่งผลให้ภาคธุรกิจชะงักงัน หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบคือธุรกิจอาหาร เนื่องจากกิจการจำนวนมากถูกบีบให้ work from home เพื่อลดการเดินทางของพนักงานมากที่สุด รวมถึงพนักงานที่เป็นลูกจ้างรายวันถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้คนลดลง ร้านอาหารทุกร้านถูกสั่งปิดตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อลดจำนวนคนเข้ามานั่งแออัดกันที่พื้นที่ ทำให้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มต่างหวั่นใจในการดำเนินธุรกิจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์ พินิจกลาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ให้ความเห็นใน webinar Asia Food Beverage Virtual Talk เขามองว่าในช่วงวิกฤตินี้ทำให้ผู้บริโภคสนใจอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ดร.สุรพงษ์แนะนำให้ผู้ประกอบการหันมาวิจัยและพัฒนาโพรไบโอติกส์ หรือจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะโพรไบโอติกส์มีสารกำจัดอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ของมนุษย์ และสร้างภูมิคุ้มกันรวมไปถึงสรรพคุณอื่นๆ เช่นการต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ลดการอักเสบภายในร่างกาย บำรุงหัวใจ และกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีออกจากร่างกายอีกด้วย สรรพคุณทางยาที่ว่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดูแลร่างกาย โดยเฉพาะในภาวะโรคระบาด ที่บีบให้คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น
เขายกตัวอย่างยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายของโพรไบโอติกส์โตขึ้น 700% นั่นแสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ของตลาดที่พร้อมซื้อ ซึ่งผู้ประกอบการในปัจจุบันยังผลิตสินค้ามารองรับความต้องการนี้ไม่เพียงพอ ที่คนสนใจผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์กันมากขึ้นไม่ใช่เพียงแค่คุณค่าทางโภชณาการเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะ รสชาติของมันที่ให้ความรู้สึกถึงธรรมชาติ มีน้ำตาลต่ำ และสามารถเก็บไว้ได้นานอีกด้วย

ดร.สุรพงษ์มองว่าโพรไบโอติกส์ที่ควรนำมาวิจัยในช่วงนี้คือ Bacillus Coagulans GBI-30, 6086 หรือGanedenBC30 เพราะมันสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายหลายชนิด โดยที่ไม่สูญเสียจุลินทรีย์เมื่อผ่านความร้อนในกระบรวนการผลิต เช่น ถ้านำจุลินทรีย์นี้ไปผสมในคุกกี้ ต่อให้อบด้วยความร้อนสูงถึง 180 องศาเซลเซียส จำนวนจุลินทรีย์คงเหลือก็ยังอยู่ที่ 98% หรือถ้านำไปแปรรูปด้วยวิธีการอัดผ่านเกลียว
การสร้างโพรไบโอติกส์นั้นสามารถเริ่มต้นจากผู้ประกอบการรายย่อยระดับ SME ได้ โดยที่ผู้ประกอบการโฟกัสไปที่การทำวิจัยและพัฒนา คิดค้นสูตรของสารสกัดที่ได้มาจากโพรไบโอติกส์ออกมา เขายกตัวอย่าง ผงเครื่องดื่มแบบซองที่ทานด้วยการชงจากน้ำ เพราะต้นทุนในการผลิตไม่สูงมากนัก โดยในเรื่องกระบวนการผลิตนั้นเขาแนะนำให้ผู้ประกอบการรายย่อย ไปจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีในการผลิตสารสกัดนั้นอยู่แล้ว เพราะการแปรรูปสูตรของโพรไบโอติกส์เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ต้องใช้เทคโนโลยี High Pressure Processing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ดร.สุรพงษ์แนะนำให้ผู้ประกอบการ SME ติดต่อที่บริษัททีซัส เฟบิกซ์ ฟู้ดเทค ที่มีอุปกรณ์และบุคลากรพร้อมอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ดร.สุรพงษ์ยังแนะนำพืชท้องถิ่นอีก 3 ชนิด ได้แก่ ขิง, มังคุด และพลูคาว เป็นพืชที่มีศักยภาพอย่างมากที่ผู้ประกอบการไทยจะนำมาผลิตสินเป็นสารสกัดโพรไบโอติกส์ อย่างขิงที่นิยมปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเหนือและภาคใต้ ขิงมีสารจินเจอรอล (gingerol) โชกาออล (shogaol) ที่มีสรรพคุณทางยาสูง ซึ่งสารอาหารในขิงนั้นถ้าทานสดๆ จำเป็นต้องทานขิงหลายกิโลกรัมเพื่อให้ได้สารอาหารในปริมาณมาก แต่การสกัดด้วยวิธี High Pressure Processing จะทำให้เราได้สารสกัดที่เข้มข้นจากเดิมถึง 30 เท่า ผู้ประกอบการสามารถขายสูตรนี้ไปให้บริษัทใหญ่จากต่างแดนไปพัฒนาต่อได้
มังคุดนั้น ส่วนสำคัญที่สามารถสกัดสารอาหารออกมาได้คือ “เปลือกมังคุด” ซึ่งดร.สุรพงษ์มองว่า มันจะช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้แค่ชาวสวนมังคุดอย่างมาก เพราะเปลือกมังคุด ณ ปัจจุบัน มีมูลค่าต่ำในท้องตลาด เช่นเดียวกับพลูคาว ที่มีสาร เคอร์ซีทิน (quercetin) ที่ช่วยยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้
อย่างไรก็ตาม ศักยภาพในพืชเหล่านี้ยังไม่ถูกพัฒนาให้ถึงขีดสุด เพราะในประเทศไทยยังไม่มีการวางระบบในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารจากโพรไบโอติกส์ องค์การอาหารและยายังไม่มีการกำหนดสูตรที่เหมาะสม และยังไม่มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์สัญชาติไทยของเราเอง ซึ่งต่างจากญี่ปุ่น ที่มีบริษัทยาคูลท์ ที่ดำเนินการมาเกือบหนึ่งร้อยปีแล้ว เช่นเดียวกับประเทศชั้นนำของทวีปเอเชียอื่นๆ ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโพรไบโอติกส์อย่างยาวนานทั้ง เกาหลีใต้ และประเทศจีน
ถึงอย่างนั้น ดร.สุรพงษ์ มองว่าประเทศไทยสามารถไล่ตามประเทศเหล่านั้นทันภายในระยะเวลา 10 ปี ถ้าเกิดระบบผู้ประกอบการ นักเคมี และนักจุลินทรีย์วิทยา สามารถทำงานร่วมกันได้ เขายกตัวอย่างหน่วยงานในความดูแลของเขาซึ่งก็คือ เมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ Food Innopolis ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์อาหาร ที่ต้องการใช้ความรู้ยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ ซึ่งทาง Food Innopolis ก็ยินดีร่วมงานกับผู้ประกอบการพัฒนาสูตรและจับคู่สูตรนี้ให้เข้ากับผู้ผลิตรายใหญ่ต่อไป