(สำหรับภาษาไทย กรุณาเลื่อนลงด้านล่าง)
What have you ever said or done to your Muslim friends in your workplace during the Ramadan?
Huffington Post, a media company from New York City, USA, made a video about a life a female Muslim office worker, who fasts during the Ramadan. She faces some problem with her non-Muslim colleagues such as they eat all day and bug her with annoying questions. It is witty, hilarious and knowledgeable.
The main character is played by Linda Sarsour, the executive director at Arab American Association of New York and the CEO of MPower Change, a web page promoting Muslim rights.
What I like most about the video is the response from Linda. I love her sense of humor as she answers all the annoying questions including;
“I hear you’re fasting. That means you can’t eat right?”
“Oh! That must be great for getting in shape.”
Or the more irritating one like “What if you covered all the windows with garbage bags. So, no sunlight gets in. Then you can eat.”

We have a tool to protect ourselves from ignorant people, which is “Political Correctness”. It is used to judge if what we say is offensive such as calling Japanese people “Jap” or “Nip” or calling the Chinese “Chink”.
Such questions above can be considered ‘offensive’, which make the non-Muslims too afraid to ask their burning questions. This leads to the backfire effect of political correctness. Instead of unite people from different ethnicity together, it separates them because nobody wants to communicate with people from different races to avoid any expression or action that might be taken offensive.
That is why I am impressed by the answers from the Muslim woman in the video. For instance, when the Muslim woman makes a response to her coworker when being told “Oh! That must be great for getting in shape.”. She said back “Actually, a lot of us gain weight. The midnight binge eating.”
Also, I love the scene when the Muslim women made a poker face when being asked back “Jeez, what’s the point even?”. Her poker face is priceless as the timing is perfect. This makes me laugh out loud like crazy.

Plus, the ending is remarkable. It is funny and heartwarming as her trolling coworker admits that he does it because he misses having lunch with her. Then, the woman has a chance to troll her friend back. She tells Paul, a Judaist friend to come meeting her on Saturday. Saturday is Sabbath Day for the Jewish and they do not perform any activity but going to a church. She even proposes an idea to cheat the religious rule by telling him to drive to her and drive back in reverse to cancel each other out.

Having a little sense of humor on religious issues is admirable since it leads to exchange the idea and the belief. It makes people understand each other more than using only political correctness to condemn the offender.
It is a superb work from Huffington Post indeed. We learn more about the Islamic culture from the video. And I am “Informed, Inspired, Entertained and Empowered” like what the creative team aim for in their motto.
แด่เพื่อนในเดือนรอมฏอน
ในที่ทำงานของใครหลายๆ คน น่าจะมีเพื่อนมุสลิมอยู่บ้าง แล้วเราเคยพูดหรือทำอะไรกับเพื่อนมุสลิมระหว่างถือศีลอดในเดือนรอมฎอนบ้างไหม?
Huffington Post สำนักข่าวจากนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้ทำวิดีโอน่ารักๆ (แถมตลกซะด้วย) เกี่ยวกับชีิวิตของสาวออฟฟิศมุสลิม เธอต้องถือศีลอดในที่ทำงานที่เต็มไปด้วยเพื่อนต่างศาสนาและทุกคนก็กินทุกอย่างกันเต็มที่ วิดิโอนำเสนอเรื่องราวในสังคมได้อย่างแหลมคม ตลก และได้ความรู้ไปพร้อมกัน
นางเอกของวิดิโอไม่ใช่ใครที่ไหน เธอคือ Linda Sarsour ประธานสมาคมคนอาหรับอเมริกันแห่งนิวยอร์ค และเป็นผู้บริหารขององค์รเคลื่อนไหวเพื่อสังคมของชาวมุสลิมในอเมริกาที่ชื่ิอว่า MPower Change
สิ่งที่เราชอบที่สุดในวิดิโอนี้คือการตอบคำถามอย่างมีอารมณ์ขันของ Linda เราเชื่อว่าหลายๆ คนที่ไม่ใช่มุสลิม ก็คงมีคำถามในใจ (ที่ไม่กล้าถาม เดี๋ยวโดนมองว่าไปเหยียดศาสนาอื่น) อาทิ
“การถือศีลอดคือกินอะไรไม่ได้ทั้งวันเลยใช่มั้ย” หรือ
“การถือศีลอดนี่ดีนะ เป็นการรักษาหุ่นไปในตัว”
หรือจะถามคำถามที่กวนใจกว่านั้น “ถ้าเราเอาผ้าดำคลุมหน้าต่างแล้วหลอกว่านี่มันมืดแล้วล่ะ เธอก็หยิบอาหารเข้าปากได้เลยไหม”

โลกเรามีสิ่งที่เรียกว่า “ความถูกต้องทางการเมือง” (Political Correctness) ไว้ปกป้องตนเองจากคนที่เห็นผู้อื่นด้อยกว่าตัวเอง และตัดสินว่าคำพูดคำนั้น “เหยียด” คนอื่นหรือไม่ เช่น การเรียกคนญี่ปุ่นว่า “ยุ่น” หรือเรียกคนจีนว่า “เจ๊ก” ถ้อยคำเหล่านั้นไม่ถูกต้องทางการเมือง
และคำถามที่ยกมาในข้างต้น ก็คนถามก็เสี่ยงที่จะถูกมองไม่ดี เกิดภาวะ “อยากรู้แต่ไม่อยากถาม” ซึ่งสุดท้ายแนวคิดนี้ อาจส่งผลร้ายในทางกลับ แทนที่จะให้คนหลายเชื้อชาติอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข กลายเป็นแต่ละเชื้อชาติอยู่กันแบบ “พวกใครพวกมัน” เพราะกลัวจะพูดอะไรไปกระทบใจอีกฝ่าย
เราเลยประทับใจมากที่นางเอก เอาเรื่องความเป็นมุสลิมมาเล่นเป็นมุขกับตัวเองซะเลย เช่น ตอนที่เพื่อนสาวในที่ทำงานที่พูดว่า “การถือศีลอดนี่ดีนะ รักษาหุ่นไปในตัว” นางเอกก็ตอบกลับว่า “บางคนก็อ้วนขึ้นนะ เพราะไปกินแบบจัดหนักหลังเที่ยงคืน” และตอบรับอย่างหน้าตายสนิท ตอนที่เพื่อนร่วมงานของเธอถามกลับไปว่า “แล้วจะอดอาหารไปทำไมล่ะ” จังหวะดีมากจนเราลั่นขำออกมาดังๆ เลย

นอกจากนี้เรายังชอบตอนท้ายเรื่องที่ Paul เพื่อนร่วมงานชาวยิวที่นับถือศาสนายูดาห์บอกว่าที่แหย่เล่นเพราะคิดถึงที่ไม่ได้กินข้าวด้วยกันหลายวันมาแล้วมากๆ โดยเฉพาะตอนที่ Linda แหย่กลับไปด้วยการชวนให้ Paul มาเจอกับเธอในวันเสาร์ ซึ่งตรงกับวันสะบาโตในศาสนายูดาห์ ตามหลักศาสนา วันนั้นคือวันรับใช้พระเจ้า ไม่ทำกิจใดอื่น

เรามองว่าการเปิดช่องว่างให้คนต่างวัฒนธรรมมาล้อกันเล่นๆ แบบนี้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความเข้าใจกันได้ดีกว่าการใช้กฎ “ความถูกต้องทางการเมือง” มาจับผิดกันเอามากๆ
เราจึงชื่นชม The Huffington Post ที่ทำวิดิโอเรื่องรอมฎอนตัวนี้เพื่อทำให้คนทุกศาสนาเข้าใจกัน ตามปรัชญาของสำนักข่าวที่ว่า “ให้ความรู้ คู่แรงบันดาลใจ สนุกก็ย่อมได้ และส่งเสริมทุกๆ คน” (Inform Inspire Entertain Empower)