Book Translation Work Sample – Nudge


ตัวอย่างงานแปลหนังสือ non-fiction

แปลเรื่อง: Nudge: Improving Decisions about Health, Wealth, and Happiness

เขียนโดย Richard Thaler และ  Cass Sunstein (หน้าที่ 1-4)

English OriginalThai Translated
A friend of yours, Carolyn, is the director of food services for a large city school system. She is in charge of hundreds of schools, and hundreds of thousands of kids eat in her cafeterias every day. Carolyn has formal training in nutrition (a master’s degree from the state university), and she is a creative type who likes to think about things in nontraditional ways. เพื่อนของคุณคนหนึ่งชื่อ แคโรลิน เธอเป็นผู้อำนวยการด้านการจัดอาหารให้กับโรงเรียนต่างๆ ในเมืองขนาดใหญ่เมืองหนึ่ง เธอรับผิดชอบโรงเรียนหลายร้อยแห่ง และเด็กหลายแสนคนทานอาหารกลางวันในโรงอาหารที่เธอดูแล แคโรลินมีความรู้เรื่องโภชนาการเป็นอย่างดี (จบปริญญาโทในสาขาดังกล่าวจากมหาวิทยาลัยรัฐ) เธอยังมีความคิดสร้างสรรค์ อยากทำอะไรนอกกรอบเดิมๆ อีกด้วย
One evening, over a good bottle of wine, she and her friend Adam, a statistically oriented management consultant who has worked with supermarket chains, hatched an interesting idea. Without changing any menus, they would run some experiments in her schools to determine whether the way the food is displayed and arranged might influence the choices kids make. Carolyn gave the directors of dozens of school cafeterias specific instructions on how to display the food choices. In some schools the desserts were placed first, in others last, in still others in a separate line. The location of various food items was varied from one school to another. In some schools the French fries, but in others the carrot sticks, were at eye level.เย็นวันหนึ่ง หลังจากดื่มไวน์เข้าไป เธอและเพื่อนของเธอที่ชื่ออดัม ผู้ที่คลั่งไคล้ในเรื่องสถิติ และทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการให้เชนซูเปอร์มาร์เกตหลายแห่ง ได้เกิดไอเดียขึ้น พวกเขาอยากทดลองว่าการเปลี่ยนวิธีจัดวางอาหารจะส่งผลต่อการเลือกกินอาหารของๆ เด็กๆ ในโรงเรียนที่แคโรลินดูแลอยู่หรือไม่ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเมนูใดๆ เลย แคโรลิน เลยสั่งให้คนที่ดูแลโรงอาหารของโรงเรียนต่างๆ หลายสิบแห่งให้จัดวางอาหารตามที่เธอบอก ในบางโรงเรียน จะวางของหวานไว้เป็นลำดับแรก แต่บางโรงเรียน จะจัดให้ของหวานวางอยู่ลำดับสุดท้าย และบางโรงเรียน ก็จะวางของหวานแยกไปคนละแถวกับอาหารคาว แต่ละโรงเรียนจะได้โจทย์ในการจัดวางอาหารแตกต่างกัน บางโรงเรียนจะนำเฟรนช์ฟรายไว้ในระดับสายตา แต่บางโรงเรียนจุดนั้นจะเป็นแท่งแครอทแทน
From his experience in designing supermarket floor plans, Adam suspected that the results would be dramatic. He was right. Simply by rearranging the cafeteria, Carolyn was able to increase or decrease the consumption of many food items by as much as 25 percent. จากประสบการณ์ที่อดัมเคยออกแบบฟลอร์แปลนให้กับซูเปอร์มาร์เกต เขามั่นใจสุดๆ ว่าผลที่ได้ต้องต่างกันมากๆ ในแต่ละที่ เขาคิดถูก แค่เปลี่ยนรูปแบบการวางอาหารในโรงอาหาร แคโรลินสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณการทานอาหารบางอย่างได้มากถึง 25%
Carolyn learned a big lesson: school children, like adults, can be greatly influenced by small changes in the context. The influence can be exercised for better or for worse. For example, Carolyn knows that she can increase consumption of healthy foods and decrease consumption of unhealthy ones. สิ่งที่แคโรลินเรียนรู้ก็คือ: เด็กนักเรียนนั้นไม่ต่างจากผู้ใหญ่ ที่ถูกโน้มน้าวได้จากการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ การโน้มน้าวนั้นจะพาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าหรือแย่กว่าก็ได้ อย่างที่แคโรลินค้นพบว่า เธอสามารถทำให้นักเรียนกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้มากขึ้น และกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์น้อยลง
With hundreds of schools to work with, and a team of graduate student volunteers recruited to collect and analyze the data, Carolyn believes that she now has considerable power to influence what kids eat. Carolyn is pondering what to do with her newfound power. Here are some suggestions she has received from her usually sincere but occasionally mischievous friends and coworkers:

1. Arrange the food to make the students best off, all things considered.

2. Choose the food order at random.

3. Try to arrange the food to get the kids to pick the same foods they would choose on their own.

4. Maximize the sales of the items from the suppliers that are willing to offer the largest bribes.

5. Maximize profits, period.
เนื่องจากเธอได้ทดลองกับโรงเรียนหลายร้อยแห่ง เธอจึงนำนักศึกษาปริญญาโทกลุ่มหนึ่งมาช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล จากข้อมูลนั้น แคโรลินเชื่อมั่นว่าเธอมีอำนาจโน้มน้าวให้เด็กทานอาหารได้ตามที่เธอต้องการ แคโรลินกำลังตัดสินใจว่าเธอควรทำอย่างไรกับพลังอำนาจใหม่ที่ได้มา นี่คือคำแนะนำที่เธอได้รับจากเพื่อนและเพื่อนร่วมงานที่จริงใจ และออกจะเจ้าเล่ห์ในบางครั้ง:

1. จัดวางอาหารเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพดีที่สุด โดยใช้ทุกปัจจัยที่มี

2. จัดวางอาหารแบบสุ่ม

3. จัดวางอาหารให้ตรงกับสิ่งที่เด็กอยากเลือกกินมากที่สุด

4. จัดวางอาหารเพื่อเพิ่มยอดขายของอาหารที่ซัพพลายเออร์จ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเรามากที่สุด

5. จัดวางอาหารเพื่อเอากำไรสูงที่สุด จบ.
Option 1 has obvious appeal, yet it does seem a bit intrusive, even paternalistic. But the alternatives are worse! Option 2, arranging the food at random, could be considered fair-minded and principled, and it is in one sense neutral. But if the orders are randomized across schools, then the children at some schools will have less healthy diets than those at other schools. Is this desirable? Should Carolyn choose that kind of neutrality, if she can easily make most students better off, in part by improving their health?ทางเลือกที่ 1 ดูดีที่สุด แต่มันก็ดูจะรุกล้ำ ไปจนถึงครอบงำความคิดเด็กเสียด้วยซ้ำ ถึงอย่างนั้น ตัวเลือกอื่นๆ ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่! ทางเลือกที่ 2 ที่จัดวางแบบสุ่มนั้น อาจจะดูยุติธรรมตามหลักการ ดูเป็นกลางดี แต่ถ้าทุกโรงเรียนสุ่มแบบนี้กันหมด เด็กจากบางโรงเรียนจะได้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าโรงเรียนอื่น นี่คือผลลัพธ์ที่ต้องการหรือ? แคโรลินควรเลือกทางที่เป็นกลางแบบนี้ ทั้งๆ ที่เธอสามารถทำให้นักเรียนเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุดได้ ซึ่งช่วยให้พวกเขามีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นได้อย่างนั้นหรือ?
Option 3 might seem to be an honorable attempt to avoid intrusion: try to mimic what the children would choose for themselves. Maybe that is really the neutral choice, and maybe Carolyn should neutrally follow people’s wishes (at least where she is dealing with older students). But a little thought reveals that this is a difficult option to implement. Adam’s experiment proves that what kids choose depends on the order in which the items are displayed. What, then, are the true preferences of the children? What does it mean to say that Carolyn should try to figure out what the students would choose “on their own”? In a cafeteria, it is impossible to avoid some way of organizing food.ทางเลือกที่ 3 เหมือนจะเป็นความพยามที่น่าชื่นชมเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะแทรกแซงความคิดเด็ก: ก็ทำให้มันเหมือนกับสิ่งที่เด็กจะเลือกอยู่แล้วด้วยตัวเองเสียเลยสิ นี่อาจจะเป็นทางเลือกที่เป็นกลางจริงๆ ก็ได้ และแคโรลินก็ควรจะทำตามความต้องการของคนอื่นอย่างเป็นกลาง (อย่างน้อยก็พวกเด็กโตในโรงเรียนที่เธอดูแล) แต่คิดดูอีกที มันยากมากที่จะทำให้ทางเลือกนี้เกิดขึ้นจริง การทดลองของอดัมพิสูจน์แล้วว่าเด็กเลือกอาหารตามตำแหน่งที่อาหารต่างๆ ถูกจัดวาง ถ้าอย่างนั้น อะไรคือความต้องการของเด็กที่แท้จริงล่ะ? นั่นไม่ได้แปลว่าแคโรลินต้องไปหามาให้ได้ว่าเด็กจะเลือกกินอะไร “ด้วยตัวเอง”หรอกหรือ? ซึ่งในโรงอาหาร มันหลีกหนีการจัดเตรียมอาหารไม่พ้นอยู่แล้ว
Carolyn is what we will be calling a choice architect. A choice architect has the responsibility for organizing the context in which people make decisions. Although Carolyn is a figment of our imagination, many real people turn out to be choice architects, most without realizing it. If you design the ballot voters use to choose candidates, you are a choice architect. If you are a doctor and must describe the alternative treatments available to a patient, you are a choice architect. If you design the form that new employees fill out to enroll in the company health care plan, you are a choice architect. If you are a parent, describing possible educational options to your son or daughter, you are a choice architect. If you are a salesperson, you are a choice architect (but you already knew that).แคโรลินคือคนที่เราเรียกได้ว่าเป็น “สถาปนิกแห่งทางเลือก” สถาปนิกแห่งทางเลือกคือผู้จัดการปัจจัยแวดล้อมที่คนใช้ตัดสินใจ แม้ว่าแคโรลินจะเป็นตัวละครที่จินตนาการขึ้นมา แต่คนจำนวนมากในชีวิตจริงต่างก็เป็นสถาปนิกแห่งทางเลือก โดยที่ส่วนใหญ่แทบไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ ถ้าคุณเป็นคนออกแบบบัตรเลือกตั้งให้คนเลือกนักการเมือง คุณคือสถาปนิกแห่งทางเลือก ถ้าคุณเป็นหมอและต้องอธิบายวิธีการรักษาแบบอื่นๆ ที่เป็นไปได้ให้กับคนไข้ คุณคือสถาปนิกแห่งทางเลือก ถ้าคุณเป็นคนออกแบบเอกสารที่ให้พนักงานสมัครโครงการประกันสุขภาพของบริษัท คุณคือสถาปนิกแห่งทางเลือก ถ้าคุณเป็นพ่อแม่และกำลังอธิบายทางเลือกในการเรียนต่อให้กับลูกชายและลูกสาวของคุณฟัง คุณคือสถาปนิกแห่งทางเลือก ถ้าคุณเป็นพนักงานขาย คุณคือสถาปนิกแห่งทางเลือก (ต่างกันตรงที่คุณรู้ตัวแต่แรกแล้วว่าเป็น)
There are many parallels between choice architecture and more traditional forms of architecture. A crucial parallel is that there is no such thing as a “neutral” design. Consider the job of designing a new academic building. The architect is given some requirements. There must be room for 120 offices, 8 classrooms, 12 student meeting rooms, and so forth. The building must sit on a specified site. Hundreds of other constraints will be imposed—some legal, some aesthetic, some practical. In the end, the architect must come up with an actual building with doors, stairs, windows, and hallways. As good architects know, seemingly arbitrary decisions, such as where to locate the bathrooms, will have subtle influences on how the people who use the building interact. Every trip to the bathroom creates an opportunity to run into colleagues (for better or for worse). A good building is not merely attractive; it also “works.”การเป็นสถาปนิกแห่งทางเลือกนั้นไม่ต่างจากการเป็นสถาปนิกออกแบบอาคารสักเท่าไหร่ ความเหมือนที่สำคัญคือการออกแบบที่ “เป็นกลาง” ไม่มีอยู่จริง ลองดูจากงานออกแบบอาคารวิชาการหลังหนึ่ง สถาปนิกจะได้รับเงื่อนไขหลายๆ ข้อที่ลูกค้าต้องการ เช่น ต้องมีพื้นที่พอสำหรับสำนักงาน 120 แห่ง ห้องเรียน 8 ห้อง ห้องประชุมสำหรับนักศึกษา 12 ห้อง และอื่นๆ อีกมากมาย อาคารหลังนี้ต้องสร้างอยู่บนที่ดินแปลงใดแปลงหนึ่งอย่างเจาะจง และมีข้อจำกัดจิปาถะนับร้อยตามมา ทั้งทางด้านกฎหมาย ด้านความงาม และด้านการใช้งาน ท้ายที่สุด สถาปนิกก็จะต้องออกแบบอาคารจริงที่มีประตู บันได หน้าต่าง และทางเดิน สถาปนิกชั้นยอดจะรู้ดีว่า อำนาจในการตัดสินใจของเขา เช่น จะวางห้องน้ำไว้ตรงไหน จะส่งอิทธิพลอย่างลับๆ กับการปฏิสัมพันธ์ของคนที่อยู่ในอาคาร การเดินไปเข้าห้องน้ำทำให้คนต้องมาเจอหน้าเพื่อนร่วมงาน (ทั้งในด้านบวกและด้านลบ) อาคารที่ดีจะไม่ใช่แค่ดูสวยงาม แต่ต้อง “ตอบโจทย์การใช้งาน” อีกด้วย
As we shall see, small and apparently insignificant details can have major impacts on people’s behavior. A good rule of thumb is to assume that “everything matters.” In many cases, the power of these small details comes from focusing the attention of users in a particular direction. A wonderful example of this principle comes from, of all places, the men’s rooms at Schiphol Airport in Amsterdam. There the authorities have etched the image of a black housefly into each urinal. It seems that men usually do not pay much attention to where they aim, which can create a bit of a mess, but if they see a target, attention and therefore accuracy are much increased. According to the man who came up with the idea, it works wonders. “It improves the aim,” says Aad Kieboom. “If a man sees a fly, he aims at it.” Kieboom, an economist, directs Schiphol’s building expansion. His staff conducted fly-in-urinal trials and found that etchings reduce spillage by 80 percent.อย่างที่เราเห็น รายละเอียดเล็กๆ ที่อาจดูไม่สำคัญมีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์อย่างมาก กฎข้อแรกเลยคือการมองว่า “ทุกอย่างล้วนมีความหมาย” ในหลายๆ กรณี พลังอำนาจจากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ มาจากการทำให้คนโฟกัสไปในทางใดทางหนึ่ง ตัวอย่างที่ชัดเจนของวิธีคิดนี้ คือห้องน้ำชายของสนามบินสคิปโพลที่เมืองอัมสเตอร์ดัม เจ้าหน้าที่สนามบินได้เอาสติกเกอร์รูปแมลงวันมาติดไว้ที่โถปัสสาวะ เพราะผู้ชายจำนวนไม่น้อยไม่ได้ใส่ใจว่าพวกเขาจะเล็งไปตรงไหนเวลาฉี่ ก็เลยฉี่เลอะเทอะไปหมด แต่เมื่อพวกเขาเห็นเป้าหมาย พวกเขาจะใส่ใจและเห็นความสำคัญกับการเล็งให้แม่นยำขึ้นมาทันทีทันใด “มันทำให้คนเล็งตรงจุดมากขึ้น” อาด ไคบูม ชายผู้เป็นเจ้าของไอเดียที่น่าอัศจรรย์นี้กล่าว “เมื่อคนเห็นแมลงวัน เขาก็จะเล็งไปตรงนั้น” ไคบูม เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่รับผิดชอบเรื่องการต่อเติมอาคารให้กับสนามบินสคิปโพล ทีมงานของเขาที่ทดลองเอารูปแมลงวันมาติดที่โถปัสสาวะพบว่า มันลดปัญหาปัสสาวะหกเรี่ยราดได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์
The insight that “everything matters” can be both paralyzing and empowering. Good architects realize that although they can’t build the perfect building, they can make some design choices that will have beneficial effects. Open stairwells, for example, may produce more workplace interaction and more walking, and both of these are probably desirable. And just as a building architect must eventually build some particular building, a choice architect like Carolyn must choose a particular arrangement of the food options at lunch, and by so doing she can influence what people eat. She can nudge.วิธีคิดที่ว่า “ทุกอย่างล้วนมีความหมาย” สามารถใช้ได้ทั้งเพื่อบั่นทอนหรือส่งเสริม สถาปนิกชั้นยอดนั้นทราบดีว่า ถึงเขาจะสร้างอาคารที่สมบูรณ์แบบไม่ได้ เขาสามารถออกแบบทางเลือกให้เกิดประโยชน์ได้ อย่างเช่น การใช้บันไดแบบโปร่ง จะทำให้คนในออฟฟิศมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นและเดินมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นผลดีทั้งคู่ ไม่ต่างจากสถาปนิกที่ออกแบบอาคารอย่างเฉพาะเจาะจง สถาปนิกแห่งทางเลือกอย่างแคโรลิน ใช้วิธีจัดวางอาหารกลางวัน ทำให้เธอมีอิทธิพลต่อคนอื่นในการเลือกกินเมนูใดเมนูหนึ่ง เธอสร้างแรงกระเพื่อมได้