“ไม่รู้บอกรู้” ค่านิยมส่งเสริมครูให้หลงผิด

Posted by

ดูหนัง The Karate Kid ทีไร เราจะรู้สึกสะอิดสะเอียนกับฉาก Wax On, Wax Off (หรือถ้าเป็นเวอร์ชั่นเฉินหลงเล่น ก็คือฉาก Pick up the Jacket) ทุกครั้งไป

ซึ่งนั่นก็คือฉากที่ “แดเนียล” ตัวเอกของเรื่องเป็นเด็กติ๋ม ที่ถูกหัวโจกประจำโรงเรียนรุมกระทืบ และ “มิยากิ” อาจารย์สอนคาราเต้คนหนึ่งมาช่วยไว้ เด็กคนนั้นเลยมาขอฝากตัวเป็นศิษย์

แต่การฝึกคาราเต้นั้นมันไม่ได้ฝึกแบบสากล มาวันแรกพระเอกของเราก็ถูกสั่งให้เอาขี้ผึ้งไปขัดรถของอาจารย์ให้เงาแว๊บ (นั่นคือที่มาของคำว่า Wax On, Wax Off ที่เราพูดถึง) วันต่อมาก็ให้ไปทาสีรั้วบ้าน วันต่อมาก็ถูกใช้ให้ไปขัดพื้น ไปเรื่อยๆ

ผ่านมาเป็นอาทิตย์แดเนียลก็ยังไม่ได้ฝึกคาราเต้สักที จึงบอกอาจารย์ว่า “ผมพอแล้ว ผมไม่ได้มาที่นี่เพื่อเป็นเบ๊ใคร ผมมาเพื่อฝึกคาราเต้ต่างหาก” อาจารย์ก็เลยเตะต่อยใส่แดเนียล และนั่นทำให้แดเนียลค้นพบว่า ท่าขัดรถ, ทาสีบ้าน, ขัดพื้น คือท่าบล็อคการต่อสู้ และการที่ตัวเองถูกสั่งให้ทำซ้ำๆ หลายชั่วโมง คือการฝึกจนกล้ามเนื้อเคยชิน จนโต้ตอบการโจมตีนั้นไปโดยสัญชาตญาณอย่างคล่องแคล่ว

ในหนังเรื่องนี้เชิดชูการสอนของมิยากิอย่างชัดเจนว่าเป็นสุดยอดปรามาจารย์ ที่สอนโดยไม่สอน (อารมณ์แบบพระจีนในนิกายเซ็นเป๊ะๆ เลย) แค่ลูกศิษย์ทำตามที่สั่งไปเรื่อยๆ โดยไม่ตั้งคำถาม ทำไป เดี๋ยวจะรู้เองว่าครูสอนอะไร

การสอนแบบนี้ไม่ผิดนะ แต่ปัญหาคือการถูกนำมาเล่าแบบ romanticize ล้นๆ ในภาพยนตร์ สร้างภาพความเข้าใจผิดว่า คนที่สื่อสารไม่เป็น, คนที่ไม่รู้จริงแต่ทำแอคต์ว่ารู้ลึกเกินใคร รวมถึงคนที่อยากใข้อำนาจนอกเหนือความเป็นครู รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งดีน่ะสิ

แทนที่จะไปปรับปรุงเรื่องการสอนให้ดีขึ้น กลับกลายเป็นเสริมอำนาจครูให้ออกนอกลู่นอกทางมากขึ้นเสียอย่างนั้น สุดท้ายก็ให้อำนาจครูในฐานะผู้รู้ และสร้างระบบที่ให้ครูที่ยังไม่รู้จริงหลอกตัวเองและลูกศิษย์ไปพร้อมๆกันว่าที่สื่อสารห่วยเพราะเค้ารู้ลึกซึ้งกว่าครูที่สอนดีโดยทั่วไปต่างหาก

ทำให้เรานึกถึงภาพความสำเร็จของสตีฟ จอส์ กับ แอปเปิ้ล ที่สร้างเทรนด์ผิดๆ ใน Silicon Valley ว่าคนเก่งต้องทำตัวกร่าง ข่มลูกน้อง และไม่มีวันยอมรับผิด ซึ่งก็มีเจ้าขององค์กรหลายคนหลงเข้าใจว่าความนิสัยแย่ของจอบส์เองเป็นนิสัยของผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตด้วยซ้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เหล่าวอนนาบีของสตีฟ จอบส์ ก็ทำองค์กรเจ๊งกันมากมาย

การสอนแบบไหนมันวัดถูกผิดกันไม่ได้ทั้งนั้นแหละ แต่สิ่งแวดล้อมแบบใดส่งเสริมให้คนมีอำนาจมีแนวโน้มที่จะหลงผิด อันนี้วัดได้ชัดเจนเลย

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s