คงไว้ได้แค่กลิ่นที่ไม่เคยเลือนลา ยังหอมดังวันเก่ายามเมื่อลมโชยมา

Posted by

คุณเคยนึกถึงความทรงจำจาก “กลิ่น” บ้างไหม

กลิ่นหอมๆของดอกไม้ ทำให้เรานึกถึงพุ่มดอกไม้ที่อยู่หน้าโรงเรียนประถม กลิ่นเกลือทะเล ทำให้เรานึกถึงตอนไปเที่ยวทะเลกับเพื่อนม.ปลาย หรือแม้แต่กลิ่นน้ำหอมของผู้โดยสารคนหนึ่งบนรถไฟฟ้า ก็ทำให้เรานึกถึงคนรักเก่าได้

นั่นเป็นเพราะประสาทรับกลิ่นของมนุษย์นั้นเชื่อมต่อกับสมองส่วนอารมณ์และความรู้สึก และทั้งสองส่วนนั้นก็เชื่อมกับสมองส่วยการเรียนรู้ เมื่อเราได้กลิ่น สมองของเราก็จำเหตุการณ์รอบๆ ไปด้วย ด้วยเหตุนี้เมื่อเราเจอกลิ่นนั้นในอีกช่วงเวลาหนึ่ง สมองเราก็จะนึกถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกลับกลิ่นนั้นไปในทันที

นอกจากนี้ ความทรงจำจากกลิ่น ยังตราตรึงยาวนานกว่า ความทรงจำจากการมองเห็น คนเราสามารถจำกลิ่นได้แม่นยำถึง 65% ภายในเวลาหนึ่งปี แต่ความทรงจำจากสายตาจะเหลือเพียง 50% เมื่อเวลาผ่านไป 4 เดือนเท่านั้น เพราะความทรงจำจากกลิ่นนั้นจะไปกระตุ้นสมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส” ที่ทำหน้าที่เรื่องความทรงจำระยะยาว ทำให้เราจำกลิ่นได้แม่นยำและยาวนานกว่าภาพ

แต่นอกจากกลิ่นจะสร้างความทรงจำแล้ว มันยังช่วยสร้างจินตนาการใหม่ๆ ให้กับผู้รับอีกด้วย เพราะในจมูกของคนเรา มีเซลล์ประสาทการรับกลิ่นมากถึง 40 ล้านเซลล์ ทำให้เราสามารถจำแนกกลิ่นได้ซับซ้อน และเชื่อมโยงกับภาพในหัวได้ไม่จำกัด

กลิ่นง้วนดินกับโลกใบใหม่

“จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ
ผาหอมหวานจึ่งขึ้น
หอมอายดินเลอก่อน
สรดึ้นหมู่แมนมา ฯ

ตนเขาเรืองร่อนหล้าเลอหาว
หาวันคืนไป่ได้

จ้าวชิมดินแสงหล่น
เพียงดับไต้มืดมูลฯ”

เมื่อพระพรหมสร้างโลก ท่านได้รังสรรค์ต้นไม้ ใบหญ้าและภูเขา กลิ่นอายของดินจากภูเขาที่สร้างเสร็จใหม่ๆ นั้นหอมไปถึงสวรรค์ เทวดาในชั้นพรหมสัมผัสกลิ่นความหอมนั้นจนทนไม่ไหว ตัดสินใจลงมาอาศัยอยู่บนโลกใบใหม่ ยอมกลายมาเป็นมนุษย์สืบเผ่าพันธุ์ต่อไปแทน

เรื่องราวนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยโบราณที่ชื่อว่า “ลิลิตโองการแช่งน้ำ” นั่นแสดงให้เห็นว่า “กลิ่น” เป็นสื่อที่ทรงพลัง สามารถสร้างจินตภาพในใจของคนรับกลิ่นได้ กลิ่นของง้วนดิน ทำให้เหล่าทวยเทพเห็นโลกใบใหม่ที่น่าอยู่ และยอมละทิ้งความเป็นอมตะของตน

นั่นคือพลังแห่งกลิ่น ที่ชวนดึงดูด มีเรื่องราวเฉพาะตัว และทำให้ผู้รับกลิ่นให้ภาพพิเศษจากกลิ่นนั้น

รัสวิกา ช่วงเวลาแห่งค่ำคืนมหัศจรรย์

เช่นเดียวกับกลิ่นของ  “รัสวิกา” น้ำหอมกลิ่นใหม่จาก Siam 1928 ที่ออกแบบมาจากกลิ่นของช่วงเวลายามเย็นเมื่อดวงตะวันลับขอบฟ้าในคืนเดือนมืด

“ตะวันคล้อยลอยลับสุดขอบฟ้า

สนธยามาเยือนแดนภูผา

ดวงดาราต่างยลโฉมบนธารา

ท้องนภาสะกดดวงชีวี

แสงสกาวกระทบปีกระยับไหว

บนแดนไพรกินรีมาลาศรี

รี่ลงสระอโนดาตกลางพงพี

เหล่านารีเผยกายาพาต้องมนต์”

บทกวีนี้คือข้อความที่อยู่บนกล่องของ “รัสวิกา” ที่เล่าเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศแก่ผู้ใช้ ชวนให้จินตนาการถึงคืนที่ดาวเต็มฟ้า ระยิบระยับพร่างพราย เหล่ากินรีลงมาเล่นน้ำที่สระอโนดาต สระในป่าหิมพานต์ที่ล้อมรอบด้วยภูเขาทั้ง 5 เป็นสระที่ไม่เคยมีแสงอาทิตย์สาดส่องลงมาถึง ภาพทั้งหมดนี้ ถูกนำมาตีความเป็นวัตถุดิบชั้นดีอยู่ในน้ำหอม

ความมืดในยามพระอาทิตย์ตก ถูกนำเสนอด้วยกลิ่น Grapefruit ท้องฟ้ายามสนธยาถูกนำเสนอด้วยกลิ่นไอริส ดาวดวงเล็กดวงน้อยแวววาวต่างๆ ถูกนำเสนอด้วยกลิ่นแบบ muglet หรือดอกไม้ขนาดเล็ก กินรีถูกนำเสนอผ่านกลิ่น Floral Spice และใช้กลิ่น Wood เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของป่าหิมพานต์

เมื่อฉีด “รัสวิกา” เข้าไปแล้ว สัมผัสแรกคือกลิ่นเย็นชื่นของพิมเสนสีชมพู ตามมาด้วยความหอมหวานของกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ ปิดท้ายด้วยไฮไลท์กับกลิ่นอันเย้ายวนร้อนแรงของพริกไทยชมพู ผสนผสานกับดอกไอริสเผ็ดแห้ง ที่ตัดกับกลิ่นหอมเย็น อย่างลงตัว ช่วงดึงแคแร็กเตอร์ของผู้ที่พรมน้ำหอม ให้ดูเฉิดฉาย แต่ไม่ฉูดฉาดเกินไป มีความลึกลับน่าค้นหาต่ออย่างยิ่ง 

เราใช้กลิ่นเล่า “ความเป็นไทย”

น้ำหอม “สยาม1928” น้ำหอมชั้นเลิศที่สั่งสมมาจากภูมิปัญญาของช่างทำน้ำปรุงภายในวัง สูตรของน้ำปรุงเหล่านั้น ได้รับการพัฒนา ต่อยอด ให้ทันสมัย โดยยังคงใช้เทคนิค “อบร่ำ” ขับเน้นความอ่อนช้อย หอมหวาน สวยงามแบบวัฒนธรรมไทย ที่ผสมผสาน ตำนานและเรื่องเล่าในวรรณคดีต่างๆ ให้คุณเฉิดฉายได้อย่างลงตัว

น้ำหอมของสยาม 1928 ใช่เป็นเพียงเครื่องประทินผิว หรือการสร้างเรื่องราวและความทรงจำผ่าน “กลิ่น” เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับความใส่ใจ ในการเลือกวัตถุดิบ เพื่อขับเน้นความพิถีพิถันในการเลือกเครื่องหอมของไทย ที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญา ที่สืบทอดกันมากว่า 90 ปี

เราคือ สยาม 1928

“น้ำหอมสยาม” ที่ยังคงเอกลักษณ์ความเป็นไทย
และเฉิดฉายกับความเป็นสากล

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s